นกแอร์ VS แอร์เอเซีย
ความแตกต่างระหว่าง นกแอร์ กับ แอร์เอเซีย
นกแอร์ | แอร์เอเซีย |
---|---|
บริษัท
สกาย เอเชีย จำกัด บริษัทบริหารสายการบินนกแอร์
นกแอร์ยึดหลักการเป็นโลว์คอสต์ที่ว่า ทำอย่างไรถึงจะลดต้นทุน
โดยการเข้าหาผู้บริโภคนกแอร์จะใช้กลยุทธ์การตลาดที่คำนึงถึงความแปลกใหม่ที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูง การเข้ามาของสายการบินนกแอร์ เพื่อเป็น Fighting Brand ให้กับการบินไทย โดยวางตำแหน่งเป็นสายการบินคุ้มค่าคุ้มราคา หรือ Value
For Money อยู่ตรงกลางระหว่างการบินไทย กับ Low
Cost Airline
การวางตำแหน่งแบรนด์ไว้
“สูงกว่า” สายการบิน Low Cost ทำให้นกแอร์
ต้องนำเสนอสิ่งที่ “เหนือกว่า” และ “แตกต่าง” จากสายการบินต้นทุนต่ำ
โดยนกแอร์เลือกนำเสนอ “Service Differentiation” เพื่อสร้าง Brand Experience ให้กับลูกค้า เช่น
การขนส่งกระเป๋าเดินทางที่ให้น้ำหนักรวมสัมภาระสูงกว่าคู่แข่ง, ช่องทางการจำหน่ายหลากหลาย ทั้ง Call Center, Website, Travel
Agent, บูธที่สนามบิน
เนื่องจากพฤติกรรมของผู้โดยสารไทย ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของนกแอร์
มีความต้องการแตกต่างกัน ล่าสุดเปิด Application บน iPhone และระบบปฏิบัติการ Android เพื่อให้ลูกค้าสามารถ Check-in ผ่าน Smart
Phone, การบริการน้ำดื่ม
และของว่างฟรีทุกเที่ยวบิน ความแตกต่าง
และความแปลกใหม่จึงเป็นวัฒนธรรมของนกแอร์
ตั้งแต่การสื่อสารกับผู้บริโภคจนถึงการมีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลาย
มีทั้งทางอินเทอร์เน็ต คอลล์เซ็นเตอร์ เคาน์เตอร์เซอร์วิสพลัสของเซเว่นอีเลฟเว่น
เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย และไทยพาณิชย์
หรือทางเอทีเอ็ม
จุดขายที่ดีสำหรับนกแอร์ และนำมาใช้เป็นสโลแกนด้วยก็คือ การบอกว่า นกแอร์
คือมาตรฐานการบินไทย ซึ่งเป็นสโลแกนที่นกแอร์ต้องการแสดงถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัย
ที่เชื่อว่าเป็นเรื่องที่ผู้โดยสารให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง
สโลแกนนี้จะว่ามาตรฐานการดูแลของนกแอร์เป็นแบบเดียวกับการบินไทย
เครื่องบินก็ของการบินไทย แม้กระทั่งกัปตันส่วนใหญ่ก็มาจากการบินไทย
|
ไทย แอร์ เอเชีย
สร้างจุดสนใจในการเปิดตัว
ด้วยการมีบริษัทใหญ่ระดับประเทศอย่างชินคอร์ปเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกับแอร์ เอเชีย
จากมาเลเซีย ซึ่งเป็นรายแรกที่เปิดให้บริการโลว์คอสต์ในเอเชีย
และเป็นรายแรกที่มาเปิดขายตั๋วเครื่องบินราคาถูกในเมืองไทย
ด้วยสโลแกนที่คนไม่เคยเครื่องบินมาก่อนก็ต้องหันมาพิจารณา เพราะเขาบอกว่า “ใคร ๆ ก็บินได้”
จุดเด่นที่ชัดเจนของแอร์ เอเชีย คือเรื่อง Attitude ที่แตกต่าง ขนาดจะเรียกเป็น Fun แอร์ไลน์ก็ได้ ตั้งแต่เรื่องโปรโมชั่นที่มีออกมาทุกสองสัปดาห์ ที่แปลกแหวกแนวในเรื่องการจองตั๋วและราคาโปรโมชั่น หรือการจัดกิจกรรมเล่นเกมเป็นอินไฟล์ทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ของแอร์โฮสเตสบนเครื่อง และเหนือคู่แข่งอื่นคือการเป็นโลว์แฟร์ที่แท้จริง แอร์โฮสเตสของสายการบินโลว์คอสต์ เพราะต้องเป็นส่วนหนึ่งของการประหยัดต้นทุน รวมทั้งเป็นหน้าตาและบุคลิกของบริษัทที่ต้องเข้ามาช่วยชดเชยบริการบางด้านที่หายไป เช่น บันเทิงภายในเครื่องบิน พนักงานต้องคิดเกม สร้างความสนุกให้ผู้โดยสารเอง ขายอาหารเป็นนอกเหนือการเสิร์ฟอาหาร เป็นพนักงานทำความสะอาดได้พร้อมกับการเป็นพนักงานต้อนรับ ทำหน้าที่เช็คอินและโหลดผู้โดยสาร แอร์เอเชีย สร้าง Competitive Advantage ด้วยกลยุทธ์ Cost Leadership จากการมีเส้นทางการบินกว่าร้อยเส้นทางกระจายไปทั่วอาเซียน และเอเชีย รวมถึงการแตกแบรนด์แอร์เอเชีย เอ็กซ์ วางตำแหน่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ บินระยะไกลข้ามทวีป ทำให้แอร์เอเชียสามารถทำราคาตั๋วโดยสารให้ผู้โดยสารทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย |
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางระหว่าง นกแอร์ กับ แอร์เอเซีย
ที่มา : http://www.brandage.com/Modules/DesktopModules/Article/ArticleDetail.aspx?tabID=2&ArticleID=6666&ModuleID=21&GroupID=1545
http://www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=2911
http://www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=2910
http://www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=2911
http://www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=2910
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น